พระแก้วมรกต 3 ฤดู สัญลักษณ์แห่งความศรัทธาและความเชื่อในวัฒนธรรมไทย

เรื่องราวน่าอัศจรรย์ใจของ พระแก้วมรกต 3 ฤดู ที่คนไทยหลายคนไม่เคยรู้

พระแก้วมรกต 3 ฤดู สัญลักษณ์แห่งความศรัทธา

คนไทยไม่มีใครไม่รู้จัก 'พระแก้วมรกต' พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง ที่มีมาตั้งแต่สมัยเริ่มต้นกรุงรัตนโกสินทร์ องค์พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต งดงามวิจิตรตระการตา แกะสลักจากหินแก้วหยกอ่อนเนไฟรต์ สีเขียวมรกต ซึ่งเป็นวัสดุที่หาได้ยากยิ่งในยุคสมัยนั้น องค์พระมีความเก่าแก่เสียจนไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างใดๆ

ประวัติที่มาของพระแก้วมรกต ยังคงเป็นปริศนาลี้ลับที่ไม่มีใครสามารถไขคำตอบได้ เกิดเป็นตำนานเล่าขานว่า องค์พระแก้วมรกตนั้นสร้างขึ้นโดยฝีมือของเทวดา หมายให้เป็นดวงแก้วแห่งธรรมะ และจะพบพระแก้วมรกตได้ในแผ่นดินที่อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขเท่านั้น

กำเนิดพระแก้วมรกต 3 ฤดู เทวดาเป็นผู้สร้าง

ในยุคสมัยก่อนแผ่นดินไทยแบ่งออกเป็นหลายอาณาจักร และหนึ่งในนั้นคือ อาณาจักรล้านนา ที่อยู่ทางตอนเหนือของประเทศ ในปีพุทธศักราช ๑๙๗๗ ได้เกิดเหตุฟ้าผ่าพระสถูปเจดีย์เก่าในวัดป่าเยียะ ซึ่งก็คือ วัดพระแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน

พระสถูปเจดีย์ที่หักโค่นลงมา ได้ปรากฏให้เห็นถึงพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่ถูกซ่อนไว้ภายในเจดีย์ เป็นพระพุทธรูปที่ถูกปูนโบกปิดทึบทับทั้งองค์ เมื่อเห็นครั้งแรกต่างก็เข้าใจกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่ทำจากปูนปั้นธรรมดา ทางวัดจึงได้อัญเชิญองค์พระไปประดิษฐานในวิหาร

ต่อมาเพียงไม่กี่เดือนหลังจากนั้น ปูนที่ลงรักปิดทองที่พระนาสิกของพระพุทธรูปได้กะเทาะออก ปรากฏให้เห็นเนื้อแก้วสีเขียวมรกตภายใน เจ้าอธิการวัดจึงให้กะเทาะปูนที่ฉาบทับออกทั้งองค์ ผู้คนจึงได้เห็นด้วยตาเนื้อพร้อมกันว่า พระพุทธรูปปูนปั้นองค์นั้น แท้ที่จริงแล้วเป็นพระพุทธรูปที่ทำจากหินแก้วสีเขียวมรกต แกะสลักจากหยกบริสุทธิ์เพียงชิ้นเดียว ถือเป็นการสร้างพระพุทธรูปที่ทำได้ยากอย่างยิ่งยวดในสมัยนั้น

พระแก้วมรกต เป็นพระพุทธปฏิมากรที่ไม่ตรงกับยุคสมัยใดๆ และหากจะมีมนุษย์คนใดสร้าง ก็จะต้องเป็นระดับฝีมือช่างเอก การค้นพบพระแก้วมรกตในครั้งนั้น จึงเกิดขึ้นราวกับเป็นปาฏิหาริย์ และเชื่อกันว่าเทวดาเป็นผู้สร้างพระแก้วมรกต

การเดินทางอันยาวไกลของพระแก้วมรกต 3 ฤดู

พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร พระพุทธรูปปางสมาธิ ขนาดหน้าตักกว้าง ๔๘ เซนติเมตร ความสูงจากฐานถึงพระเศียร ๖๖ เซนติเมตร คนท้องถิ่นในสมัยนั้นเห็นพระพุทธรูปทำจากหินแก้วสีเขียว จึงเรียกกันว่า 'พระแก้วมรกต' เรื่องราวน่าอัศจรรย์ใจของพระแก้วมรกต ถูกเผยแพร่ออกไปอย่างกว้างขวาง ไม่ว่าใครต่างก็อยากได้เห็นองค์พระเป็นบุญตา และได้กราบสักการะสักครั้งหนึ่งในชีวิต เพื่อความเป็นสิริมงคล

จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๑๙๗๙ พญาสามประหญาฝั่งแกน เจ้านครเมืองเชียงใหม่ได้จัดขบวนช้างไปอัญเชิญพระแก้วมรกต หมายจะให้พระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่นครเชียงใหม่ แต่ระหว่างการเดินทาง ช้างที่อัญเชิญพระแก้วมรกตไม่ยอมไปทางเชียงใหม่ แม้จะฉุดรั้งดึงอย่างไร ช้างก็จะเดินไปอีกทาง ทำให้พระแก้วมรกตได้ไปประดิษฐานอยู่ที่เมืองลำปาง ซึ่งก็คือ วัดพระแก้วดอนเต้า อำเภอเมือง จังหวัดลำปางในปัจจุบัน

แม้พญาสามประหญาฝั่งแกนจะส่งช้างเชือกใหม่มาอัญเชิญพระแก้วมรกตอีกครั้ง แต่ผลก็ยังคงเป็นเช่นเดิม พระแก้วมรกตจึงได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองลำปางนานถึง ๓๒ ปี จนกระทั่งในปีพุทธศักราช ๒๐๑๑ พระเจ้าติโลกราช กษัตริย์แห่งล้านนาในราชวงศ์มังรายพระองค์ที่ ๙ ได้ส่งขบวนช้างไปอัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานที่ซุ้มจร ทางทิศตะวันออกของพระเจดีย์ ภายในวัดเจดีย์หลวงวรวิหาร ซึ่งเป็นศูนย์กลางทางการปกครองของอาณาจักรล้านนา และในตอนนั้นเอง พระแก้วมรกตก็ได้ประดิษฐานอยู่ที่เมืองเชียงใหม่นานถึง ๘๔ ปี

พระแก้วมรกตเป็นของแผ่นดินไทยมาตั้งแต่ต้น

ในปีพุทธศักราช ๒๐๙๕ พระเจ้าโพธิสาลราช กษัตริย์แห่งล้านช้าง ผู้ครองเมืองหลวงพระบาง ซึ่งเป็นพระราชบิดาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช เจ้านครเมืองเชียงใหม่ ได้เสด็จสวรรคตลง พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชจึงได้เสด็จกลับเมืองหลวงพระบาง และให้คนอัญเชิญพระแก้วมรกตไปเมืองหลวงพระบางด้วย โดยให้เหตุผลว่าต้องการอัญเชิญไปทำน้ำมนต์ และให้คนเมืองหลวงพระบางได้มีโอกาสสักการบูชาองค์พระแก้วมรกต แล้วจึงจะอัญเชิญคืนให้เมืองเชียงใหม่เช่นเดิม

ในยุคนั้นราชวงศ์ตองอู นำโดยพระเจ้าบุเรงนอง กำลังไล่ยึดครองอาณาจักรล้านนา กองทัพพม่ามีความแข็งแกร่งมาก ไปรบที่ไหน ชนะทุกที่ พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเห็นดังนั้นจึงตัดสินใจย้ายเมืองหลวง และอัญเชิญพระแก้วมรกตไปประดิษฐานที่เมืองเวียงจันทน์แทน

ตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา ล้านช้างไม่เคยอัญเชิญพระแก้วมรกตกลับคืนสู่เมืองล้านนา นครเชียงใหม่อีกเลย เป็นระยะเวลานานถึง ๒๒๗ ปี ด้วยเหตุนี้ล้านนาจึงไม่ต้องการรวมกับฝรั่งเศสและอังกฤษที่ยึดลาวและพม่าในกาลต่อมา และหันมารวมเป็นปึกแผ่นเดียวกับแผ่นดินสยามแทน

การล่มสลายของยุคสมัยอยุธยา มาพร้อมกับการเกิดใหม่ของยุคสมัยกรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้กอบกู้ประเทศ และสถาปนาเมืองหลวงขึ้นใหม่ โดยมีพระยามหากษัตริย์ศึกเป็นผู้นำทหาร ในปีพุทธศักราช ๒๓๒๒ พระยามหากษัตริย์ศึกไปรบที่เวียงจันทน์จนได้รับชัยชนะ และได้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับมายังแผ่นดินไทย พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดให้อัญเชิญพระแก้วมรกตมาประดิษฐานไว้ในมณฑกพระปรางวัดอรุณ จวบจนพระเจ้าตากสินมหาราชเสด็จสวรรคต สมเด็จพระยามหากษัตริย์ศึกจึงเสด็จขึ้นครองราชย์แทน และปราบดาภิเษกเป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระมหากษัตริย์ราชวงศ์จักรี ในหลวงรัชกาลที่ ๑ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์

การเดินทางอันยาวไกลของพระแก้วมรกต สู่พระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่กรุงรัตนโกสินทร์

พระแก้วมรกต ประดิษฐานอยู่ที่ลาวนานถึง ๓ ชั่วอายุคน จนหลายคนคิดว่าพระแก้วมรกตเป็นของลาว แต่ความจริงแล้วพระแก้วมรกตถูกค้นพบในแผ่นดินไทยมาตั้งแต่ต้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ ๑ ทรงศรัทธาและผูกพันกับพระแก้วมรกตเป็นอย่างมาก เนื่องจากพระองค์ทรงเป็นผู้อัญเชิญพระแก้วมรกตกลับแผ่นดินสยามด้วยพระองค์เอง เมื่อครั้นสถาปนากรุงรัตนโกสินทร์ได้แล้ว จึงโปรดเกล้าให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม และอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร หรือ พระแก้วมรกต เป็นพระประธาน พระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของไทย ประดิษฐานในวัดพระศรีรัตนศาสดารามอย่างถาวร นับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

ชื่อวัดพระศรีรัตนศาสดาราม มีความหมายว่า ‘ที่สถิตของพระแก้วมรกต’ และชื่อของเมืองใหม่ที่ว่า “กรุงเทพมหานคร อมรรัตนโกสินทร์...” คำว่า 'รัตน' แปลว่า แก้ว ชื่อเต็มเมืองหลวงของประเทศไทยจึงหมายความว่า “เมืองของพระแก้วมรกต” สะท้อนให้คนทั้งโลกรับรู้ว่า เมืองไทยนี้มีพระแก้วมรกตเป็นศูนย์กลางจิตใจของคนทั้งประเทศ และเป็นความศักดิ์สิทธิ์ที่สุดแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

เครื่องทรงพระแก้วมรกต 3 ฤดู สัญลักษณ์แห่งความศรัทธา

พระแก้วมรกตเป็นพระคู่บารมีของรัชกาลที่ ๑ ตลอดระยะเวลาของการครองราชย์ พระองค์ทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนา และจัดให้มีการปฏิสังขรณ์พระแก้วมรกตสืบต่อมาในทุกรัชกาล รัชกาลที่ ๑ ทรงสร้างเครื่องทรงพระแก้วมรกต เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา ได้แก่

เครื่องทรงฤดูร้อน พระเครื่องทรงอย่างพระมหากษัตริย์ เครื่องทรงทำจากทองคำลงยา ประดับเพชร และอัญมณี มงกุฎทรงเทริด ยอดประดับเพชรเม็ดใหญ่

เครื่องทรงฤดูฝน ทรงอย่างห่มดองทองคำ ทำเป็นกาบจำหลัก ลายทรงข้าวบิณฑ์ ประดับอัญมณี พระศกศิราภรณ์ทำด้วยทองคำ ปลายพระเกศาประดับด้วยมณีเม็ดย่อม พระรัศมีลงยา ส่องแสงเรืองรองประกายวิจิตรงดงามอย่างยิ่ง

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้โปรดให้สร้าง เครื่องทรงฤดูหนาว เพิ่มขึ้นอีกหนึ่งชุด ทรงเครื่องผ้าห่มทองคำประดับอัญมณี หลอดลงยาร้อยลวดคล้ายตาข่าย คลุมทั้งสองพระพาหา ทอดยาวลงจนถึงทั้งสองพระชานุ

ตั้งแต่รัชกาลที่ ๑ เป็นต้นมา ทรงจัดให้มีพระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต 3 ฤดู เป็นประจำทุกปี ซึ่งถือเป็นพุทธธรรมเนียมที่เป็นพระราชกรณียกิจสำคัญของพระมหากษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์ ซึ่งจะต้องเป็นผู้เสด็จไปทำพระราชพิธีด้วยพระองค์เองเท่านั้น พระราชพิธีเปลี่ยนเครื่องทรงพระแก้วมรกต 3 ฤดู ในวันเริ่มฤดูเป็นประจำทุกปี ได้แก่

  • ฤดูร้อน วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๔ ราวเดือนมีนาคม จะเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูหนาว เป็นเครื่องทรงฤดูร้อน
  • ฤดูฝน วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๘ ราวเดือนกรกฎาคม จะเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูร้อน เป็นเครื่องทรงฤดูฝน
  • ฤดูหนาว วันแรม ๑ ค่ำ เดือน ๑๒ ราวเดือนพฤศจิกายน จะเปลี่ยนเครื่องทรงฤดูฝน เป็นเครื่องทรงฤดูหนาว

พระแก้วมรกต ดวงแก้วแห่งราชอาณาจักรไทย

พระแก้วมรกต เสมือนเป็นพระประธานแห่งองค์พระพุทธรูปทั้งปวงของไทย หลวงปู่มั่นเคยให้คำเทศน์ถึงพระแก้วมรกตเอาไว้ว่า พระแก้วมรกต ประดิษฐาน ณ ที่แห่งใด ประเทศนั้นจะไม่ว่างจากพระอริยบุคคล และเมื่อมีพระอริยบุคคลอยู่ในประเทศใด ประเทศนั้นก็จะไม่มีวันม้วยด้วยภัยแห่งสงคราม การเสด็จไปสู่สถานที่ต่างๆ ของพระแก้วมรกต เกิดจากวัตถุประสงค์สามประการ ได้แก่ การเผยแพร่พระพุทธศาสนา, การเกิดกลียุคในดินแดนแห่งนั้น และ การมอบความรัก

มีพระแก้วมรกตที่ไหน จะพบกับความร่มเย็นใจจิตใจ มีชัยมงคลแก่ชีวิต พระแก้วมรกตจึงได้รับความนิยมกราบไหว้บูชาในที่พักอาศัยของคนไทยอย่างแพร่หลาย พระแก้วมรกตเป็นพุทธศิลป์อันสูงค่า เชื่อกันว่าการเคารพศรัทธาและกราบไหว้บูชาพระแก้วมรกต นับเป็นมงคลยิ่งแก่ชีวิต นำมาซึ่งความผาสุก และความเจริญรุ่งเรืองในชีวิต

ผู้มีจิตศรัทธาอยากสร้างพระแก้วมรกต 3 ฤดู ถวายไว้ในบรมพุทธศาสนา จะเกิดความสมหวังในทุกสิ่งปรารถนา เปรียบดั่งได้รับพรจากแก้วสารพัดนึก หรือผู้ใดอยากบูชาพระแก้วมรกต 3 ฤดู เสริมความเป็นสิริมงคลให้แก่ชีวิตอย่างรอบด้าน โรงหล่อพระรุ่งเรืองพานิช ยินดีให้คำปรึกษา สำหรับผู้ต้องการขนาดบูชาตามบ้าน บริษัท หรือ สร้างถวายขนาดเท่าคน ตลอดจนขนาดใหญ่เป็นประธานตามสถานธรรมและ วัดต่างๆ

บูชาสักการะองค์พระแก้วมรกต 3 ฤดู งานพุทธศิลป์ฝีมือสุดประณีตจาก ร้านรุ่งเรืองพานิช ร้านขายพระพุทธรูปคู่เมืองเก่าย่านพระนครที่เปิดมานานกว่า 70 ปี ใส่ใจในทุกรายละเอียด ตั้งแต่การใช้วัตถุดิบหล่อสร้างพระอย่างดี ปริมาณองค์พระเต็มเปี่ยมด้วยคุณภาพ คัดสรรวัสดุประดับเกรดดีที่สุดในท้องตลาด ถ่ายทอดความงดงามพุทธศิลป์ตามสัดส่วนตำราโบราณ เพื่อให้พระแก้วมรกต 3 ฤดู — ฤดูร้อน ฤดูฝน และ ฤดูหนาว สำเร็จด้วยความสง่างาม ศักดิ์สิทธิ์ และวิจิตรบรรจงที่สุด สามารถจัดทำพระแก้วมรกต 3 ฤดูได้ทุกสี และทุกขนาดตามสั่ง พร้อมจัดทำพิธีพุทธาภิเษกเสริมมงคลโดยพระเกจิผู้ทรงคุณ

มั่นใจในคุณภาพงานสร้างพระระดับแถวหน้าของประเทศไทย เข้าชมพระแก้วมรกต 3 ฤดูองค์จริง ได้ที่หน้าร้านรุ่งเรืองพานิช มีบริการที่จอดรถมากกว่า 30 คัน ยินดีให้บริการโดยทายาทรุ่นที่ 3 โดย คุณนุช (089-245-9949) และ คุณแนน (083-550-5936) ปรึกษาฟรี ไม่ต้องผ่านคนกลาง ให้ท่านแน่ใจได้ว่าจะได้ทำบุญในราคาสบายใจที่สุดอย่างแน่นอน

 

ร้านพระ เสาชิงช้า คลังพระพุทธรูป และเครื่องสังฆภัณฑ์แห่งแรกในเสาชิงช้าโดย รุ่งเรืองพานิช

โทรศัพท์ : 089-245-9949 , 083-550-5936 , 091-445-9495
LINE : https://line.me/ti/p/@rungruangpanich1
Facebook : https://www.facebook.com/rungruangsaochingcha
E-Mail : peerayatam@yahoo.com